บทความนี้เป็นการบอกเล่าเรื่องราว ประสบการณ์และความประทับใจของเยาวชนที่ได้เข้าร่วมโครงการ Discover Patani ซึ่งจัดขึ้นโดยมูลนิธิความร่วมมือสันติภาพ (PRC) ที่ได้นำเยาวชนจากทั่วประเทศและเยาวชนจากในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ความขัดแย้งและสันติภาพ ประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม
ขอเท้าความเล่าเรื่องก่อนหน้าที่ตัวผมนั้นจะเดินทางไปพื้นที่สามจังหวัดชายภาคใต้ ช่วงวันที่ 6-7 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ผมกับเพื่อนๆกลุ่มเสรีมวลชนเพื่อสังคมซึ่งเป็นกลุ่มอิสระร่วมกับวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้จัดโครงการคนรุ่นใหม่ผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่โลกและสังคมที่เป็นธรรม “พัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมนิสิตเพื่อเป็นกระบวนกร: เรียนรู้ชุมชนและการเมืองอีสาน” โดยเป็นกิจกรรมที่เดินทางผ่านพื้นที่ 3 จังหวัด 4 อำเภอ คือ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร อ.เรณูนคร อ.เมือง จ.นครพนม และ อ.เมือง จ.มุกดาหาร ได้มีโอกาสจัดโครงการศึกษาเรียนรู้นอกห้องเรียนในพื้นที่ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองอีสาน พวกเราก็ได้ไปพบกับเรื่องราวการเข่นฆ่าประชาชนผู้เห็นต่าง อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการสังหารจิตร ภูมิศักดิ์ ในป่า ที่อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร รวมถึงการจับชาวบ้านนาบัว จ.นครพนม เพื่อนำตัวไปสอบสวนว่ามีความเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์หรือไม่ ซึ่งชาวบ้านหลายรายถูกเจ้าหน้าที่รัฐทำร้าย ถูกซ้อมทรมาน จนถึงขั้นพิการ เสียชีวิต ผู้หญิงบางคนถูกเจ้าหน้าที่ จับไปข่มขืน บางรายต้องฆ่าตัวตายเพราะจิตใจพังทลาย จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ผมคิดว่าเรื่องราวความรุนแรงดังกล่าวนี้ เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับประชาชนในสามจังหวัดชายแดนใต้เช่นกัน
ความรุนแรงทางการเมืองเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในรัฐไทย แม้ว่าเหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยรัฐนั้น แม้ว่าจะมีการบันทึกหลักฐานโหดร้ายของการกระทำเจ้าหน้าที่รัฐและมีประจักษ์พยานในเหตุการณ์อย่างมากมายแต่ไม่เคยมีผู้ก่ออาชญากรรมคนใดที่ได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรม แม้บาดแผลทางกายจะหายไป แต่บาดแผลทางใจของประชาชนยังอยู่ การที่รัฐไทยเลือกที่จะเพิกเฉยต่อปัญหาความอยุติธรรมเหล่านี้ รัฐเลือกที่จะปิดกั้นการพูดถึงเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงที่ก่อขึ้นโดยรัฐ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเชื้อไฟในการสะสมความอยุติธรรมจนกลายเป็นความรุนแรงในเชิงโครงสร้างที่กดทับประชาชนเอาไว้ ไม่ให้ออกมาสู้กับรัฐ
พื้นที่ปาตานี ซึ่งผมได้เดินทางลงไปพบเจอผู้คนและได้เข้าไปเรียนรู้สายธารของประวัติศาสตร์ กลับพบว่า ผู้คนในท้องถิ่นแห่งนี้ ต่างต่อสู้ มาทุกยุคสมัย พวกเขามีเหตุผล และมีอุดมการณ์ที่ชัดเจน แต่เป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่ รัฐไทย เข้ามาแบ่งแยกและปกครอง รวมทั้งแบ่งผู้คนที่เคยอยู่ร่วมกันแต่เดิมออกมาด้วยการเขียนเส้นเขตแดนขึ้นมาใหม่ นี้คือผลสะเทือนจากการเป็นรัฐชาติสมัยใหม่และการรวมศูนย์อำนาจของ ร.5 พื้นที่ปาตานีถูกแบ่งออกมาเป็น 7 หัวเมือง และรัฐสยาม ก็ปกครองพวกเขามาโดยตลอด เส้นเขตแดนถูกแบ่งแยกใหม่ เมื่อจักรวรรดิบริเตน เข้ามาล่าอาณานิคมแถบมลายู ทำให้สยามจำเป็นต้องแบ่งเมืองให้กับอังกฤษ จนกลายเป็นแผนที่ในปัจจุบัน
รัฐไทยมีความพยายามในการสลายความเป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่นด้วยการนำนโยบายชาตินิยมเข้ามาในพื้นที่สามจังหวัด และนอกจากนี้แล้ว รัฐไทยก็ยังพยายามกำราบกลุ่มผู้นำทางความเชื่อด้วยการอุ้มหาย ลอบสังหาร กรณีที่โด่งดังที่สุด คือ การอุ้มฆ่า หะยีสุหลง อับดุลกอเดร์ ซึ่งเป็นโต๊ะอิหม่ามที่มีอิทธิพลทางความคิดต่อชาวมุสลิม มลายู หลังจากนั้นความรุนแรงที่รัฐไทยกระทำกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดก็รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จากการปกครองของเผด็จการทหาร ในอดีต นี้จึงเป็นเหตุให้ พี่น้องสามจังหวัดได้ก่อขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อแยกประเทศซึ่งก็เป็นผลมาจากความไม่พอใจและความทุกข์ทรมาน จากการถูกกดขี่ ปราบปรามโดยรัฐไทย
จากปัญหาการกดขี่และการใช้ความรุนแรงทั้งสองพื้นที่สู่ภาพการเมืองระดับประเทศ
ทั้งในอดีตและปัจจุบันจะเห็นได้ว่ารัฐได้ใช้อำนาจในการละเมิดสิทธิมนุษยชนและละเมิดสิทธิในการแสดงออกทางการเมืองของประชาชนหลายต่อหลายครั้ง ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ในอีตอย่าง เหตุการณ์ 6 ตุลา ปี 2519 เจ้าหน้าที่รัฐบาลและหลายกลุ่มร่วมมือกันก่อการสังหารหมู่นักศึกษาประชาชนที่ออกมาต่อสู้เพื่อสิทธิของตัวเอง ไม่มีการจับกุมฆาตกรผู้ก่อการสังหารเลยแต่เหล่านักศึกษาประชาชนที่เหลือรอดกลับถูกจับกุมทั้งหมด จากที่กล่าวมานั้น จะทราบได้ว่าสังคมไทยยังคงมี ความอยุติธรรมจากอดีตจนกระทั่งถึงเหตุการณ์ปัจจุบัน ยกตัวอย่าง การสลายการชุมนุมของรัฐที่ไม่เป็นไปตามหลักสากลซึ่งเป็นการชุมนุมอย่างสงบ ไม่ก่อความรุนแรง ตามหลักแล้วนั้น เจ้าหน้าที่รัฐต้องหลีกเลี่ยงการใช้กำลังหรือใช้แค่ที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าเจ้าหน้าที่ได้ใช้น้ำแรงดันสูงฉีดใส่ผู้ชุมนุม น้ำผสมสารเคมี แก๊สน้ำตา ใช้กระสุนยางสลายการชุมทั้งๆที่เป็นการชุมนุมอย่างสงบทำให้ผู้ชุมนุมได้รับอันตรายเสี่ยงถึงชีวิต เพียงเพราะออกมาเรียกร้องถึงสิ่งที่ควรจะได้รับซึ่งการที่รัฐใช้อำนาจละเมิดสิทธิมนุษยชนและปิดกั้นสิทธิในการแสดงออกทางการเมืองของประชาชนหลากหลายรูปแบบ โดยจะขออธิบายแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ
- สิทธิในการแสดงออกทางการเมืองผ่านกฎหมาย เช่นการที่รัฐ ใช้อำนาจเกินขอบเขตนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นพรบ.คอมฯ พรบ.การ ชุมนุม หรือ กฎหมายมาตรา112 ซึ่งพรบ.คอมฯ เป็นการกำจัดเสรีการวิพากษ์ วิจารณ์รัฐ ของประชาชนผู้ซึ่งมีการออกมาเคลื่อนไหวทางการ เมืองหรือแสดงความคิดเห็นการใช้อำนาจรัฐเกินขอบเขตผ่าน โลกออนไลน์ ส่วนการใช้พรบ.ชุมนุมจับกุมนักศึกษาเพื่อเรียกร้อง สนับสนุน คัดค้าน ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยแสดงออกต่อ ประชาชน และการใช้กฎหมายมาตรา 112 มาจับกุมหรือมุ่งเอาผิดประชาชนที่ ออกมาวิจารณ์เรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะกฎหมายมาตรา 112 เป็นกฎหมายอาญาที่ว่าด้วยเรื่องการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์
- สิทธิในการแสดงออกทางการเมืองผ่านการใช้อำนาจรัฐบาล เช่นมีการจับกุมชุมนุมของนักศึกษาหรือประชาชนด้วยความ รุนแรงอันเกินกว่าเหตุไม่ว่าจะเป็นการใช้ปืนฉีดน้ำแรงดันสูง แก๊สน้ำตา กระสุนยาง ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นการกำจัดสิทธิในการ แสดงออกทางการเมือง
- สิทธิในการแสดงออกทางการเมืองผ่านองค์กรตุลาการ ในปัจจุบันกระบวนการยุติธรรมของไทยยังเป็นที่น่ากังขาในการ แสดงออกทางการเมือง เช่น มีการไม่ให้ประกันตัวผู้ต้องหา ทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นผู้ต้องหาคดีกฎหมายมาตรา 112 หรือ 116 ที่มีการออกไป วิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นต้น ศาลมักจะให้ ประกันตัวค่อนข้างยากกว่าผู้ต้องหาคดีอื่น ๆ และการพิจารณาคดี ก็ยังเป็นการพิจารณาคดีแบบลับไม่มีการเปิดเผยให้ประชาชน ทั่วไปได้รับรู้รับทราบกัน และยังไม่มีความโปร่งใส ซึ่งมันขัดต่อ หลักสากลที่ต้องพิจารณาต่อสาธารณชน ทั้งหมดนี้ก็ยังคงเป็นที่ น่ากังขาที่รัฐได้กระทำอยู่
จากที่กล่าวมานั้น จะเห็นว่ารัฐได้พยายามทำให้ประชาชนอยู่ภายใต้กรอบที่รัฐกำหนดไว้ เพื่อให้ประชาชนไม่กล้าที่จะใช้สิทธิในการแสดงออกทางการเมือง แม้ว่าประเทศไทยจะมีการบังคับใช้รัฐธรรมนูญปี 2560 ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการจำกัดอำนาจรัฐแต่กลับกลายเป็นเครื่องมือของรัฐในการจำกัดสิทธิในการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน และเป็นที่น่าตั้งคำถามต่อระบอบการเมืองในปัจจุบันว่าเรากำลังอยู่ระบอบการเมืองอะไรกัน ประชาธิปไตย หรือ เผด็จการ กันแน่ แม้ว่าเราจะมีการเลือกตั้งแต่สภาพบริบทในทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมกลับเต็มไปด้วยการปกคลุมของวัฒนธรรมแบบอำนาจนิยมทุกปริมณฑล
สุดท้ายนี้ ผมเชื่อมั่นว่าหนทางในการสร้างสันติภาพจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าหากทหารยังปกครองประเทศนี้อยู่ และออกทางการเมืองรวมทั้งไม่มีสิทธิที่จะใช้ชีวิตอย่างปกติสุขเหมือนประชาชนในภาคอื่น ๆ ผมเสนอว่าทางออกสำหรับการแก้ไขปัญหาความรุนแรงทางการถ้าหากเรายังใช้กฎหมายด้านความมั่นคงในการปกครองพื้นที่สามจังหวัดอยู่ ก็คงเป็นเรื่องยากที่สันติภาพจะเกิดขึ้นได้ หากประชาชนไร้สิทธิ เสรีภาพในการแสดงความเห็นและใช้สิทธิใน การแสดงความคิดเห็นทางการเมือง จึงจำเป็นที่จะต้องนำคนที่ กระทำความผิดมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ต้องมอบความเป็นธรรมให้กับประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อ ของการถูกเจ้าหน้าที่รัฐใช้ความรุนแรง รัฐไทยต้องชดใช้แก่ความเสียหายที่เกิดขึ้น และมอบโอกาสในการฟื้นฟูสภาพร่างกายพร้อมกับจิตใจให้กับพวกเขาให้สามารถกลับมาเป็นสมาชิกของสังคมได้อย่างปกติซึ่งกระบวนการสันติภาพจำเป็นต้องคืนความเป็นธรรมและความยุติธรรมให้กับทุกฝ่าย รัฐไทยต้องชดใช้ความเสียหายที่ได้กระทำไว้กับประชาชน เพื่อให้ผู้คนได้กลับเข้ามาสู่สังคมปกติ อีกทั้ง รัฐ ไทยจำเป็นต้องสร้างการรับรู้ให้กับสังคมว่าเหตุการณ์เหล่านี้ ควรเป็นเรื่องที่คนในสังคมควรเรียนรู้ ถอดบทเรียนเรื่องราวในอดีต เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ทำร้ายชีวิตของกันและกันเช่นนี้ รวมทั้งรัฐไทย จำเป็นต้องยึดถือวิถีประชาธิปไตยเป็นสำคัญเพื่อใช้เครื่องมืออย่างการเมืองในระบบในการแก้ไข ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็น การเจรจา การจัดทำเวทีประชาพิจารณ์ เป็นต้น ทั้งหมด นี้จะนำไปสู่การสร้างสังคมที่เป็นธรรม รัฐเรียนรู้การไม่ใช้ความรุนแรง และประชาชนก็จะปลอดภัยจาก การแสดงออกทางการเมือง
ขอขอบคุณทาง Peace Resource Collaborative – PRC มูลนิธิความร่วมมือสันติภาพที่ได้คัดเลือกให้ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมและเปิดประสบการณ์เรียนรู้ในครั้งนี้ครับ
แบ่งปันเรื่องเล่าโดย
พงศธรณ์ ตันเจริญ
7,128 ครั้ง